วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิกฤติหนี้ยุโรปลามถึง กสิกรไทยแนะรับมือตลาดเงิน-ทุนผันผวน

  

วิกฤติหนี้ยุโรปลามถึง กสิกรไทยแนะรับมือตลาดเงิน-ทุนผันผวน

วิกฤติหนี้ยุโรปลามถึง กสิกรไทยแนะรับมือตลาดเงิน-ทุนผันผวน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย แนะ นักลงทุนรับมือตลาดเงิน-ตลาดทุนผันผวนจากวิกฤติหนี้ยุโรป เชื่อเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในไตรมาส 2 และเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลัก ได้ในไตรมาส 4...

เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.  นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (KResearch) เปิดเผยว่า จากภาพรวมวิกฤติยูโรโซน ขณะนี้จะส่งผลต่อตลาดเงิน ตลาดทุน พันธบัตร เงินทุนเคลื่อนย้าย และการลงทุนต่างๆ ให้มีความผันผวน ซึ่งทำให้นักลงทุนทั่วโลกต้องระมัดระวังและประเมินสถานการณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เชื่อว่าทางการของไทย เช่น  ธนาคารแห่งประเทศไทย จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ เนื่องจากที่ผ่านมา ประเทศไทยมีประสบการณ์ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจโลกหลายครั้ง และปัจจุบันสภาพคล่องในระบบไทยอยู่ในระดับสูง ทุนสำรองในรูปเงินตราต่างประเทศไม่มากนัก รวมทั้งพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดี จึงทำให้ภาพรวมเชื่อว่าไทยจะยังสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ ได้

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและนักลงทุนจะต้องบริหารความเสี่ยงในหลายด้าน เช่น สภาพคล่องและอัตราแลกเปลี่ยน โดยคาดว่าสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะสกุลเงินดอลลาร์จะตึงตัวมากขึ้นในไตรมาส 3-4 ขณะที่สกุลเงินบาทไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งคาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ในสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 29.50 บาทต่อดอลลาร์

ด้านนางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยได้ประเมินภาพรวมวิกฤติยูโรโซนหลังเลือกตั้งกรีซ ใน 3 กรณี แต่กรณีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด คือ กรีซจะสามารถประนีประนอมจับกลุ่ม Troika ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทางการเงินได้สำเร็จในช่วง 2 สัปดาห์นี้ก่อนเข้าสู่ไตรมาส 3/2555 ซึ่งกรีซต้องการสภาพคล่องมากกว่า 10,000 ล้านยูโรในช่วงนั้น

ทั้งนี้ เชื่อว่าภายใต้รัฐบาลใหม่ที่มีพรรค New Democracy เป็นแกนนำจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพได้ แม้ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม ซึ่งอาจทำให้แรงกดดันต่อสถานะสมาชิกภาพของกรีซในยูโรโซนบรรเทาลงในระยะสั้น แต่ปัญหาของกรีซที่ยังต้องใช้เวลาในการสะสางจะยังคงเป็นจุดเปราะบางของยูโรโซนต่อไป

ขณะที่ นางพิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยประมาณการอัตราการเติบโตของจีดีพีปีนี้ไว้ที่ 5% และมีกรอบคาดการณ์ในช่วง 4.5-6% โดยให้น้ำหนักต่อความเสี่ยงจากปัญหาในยูโรโซน ที่อาจลุกลามกระทบเศรษฐกิจภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ซึ่งหากผลกระทบเกิดขึ้นค่อนข้างมาก อาจทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยต่ำกว่าที่คาดการณ์ได้ อย่างไรก็ดี แรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดความรุนแรงลงและยังคงมีทิศทางขาขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังทำให้ศูนย์วิจัยปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ลงมาที่ 3.5% จากเดิมที่ 3.9% ทั้งนี้ ประเมินว่าการส่งผ่านผลกระทบจากปัญหาวิกฤติยูโรโซนในทางตรงจะเกิดขึ้นต่ออุปสงค์ในสินค้าไทยให้อ่อนแอลงอย่างชัดเจน ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดยุโรปในช่วง 4เ ดือนแรกปีนี้หดตัวลง 15.4% และคาดว่าทั้งปีอาจหดตัวประมาณ 5% สวนทางกับตลาดในอาเซียนที่คาดว่าในปีนี้จะขยายตัวประมาณ 17% ขณะที่การท่องเที่ยวและการลงทุน ยังไม่ปรากฏผลกระทบชัดเจน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจากยุโรปช่วง 5 เดือนแรก ขยายตัว 10.9% สูงกว่าภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัว 7.3% พร้อมทั้งโครงการจากยุโรปที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนก็เพิ่มขึ้นถึง 221%

"เศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในไตรมาส 2 และมีเติบโตขึ้นครึ่งปีหลังและเศรษฐกิจในไตรมาส 4 น่าจะเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักได้ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานปีก่อนที่ต่ำ อย่างไรก็ดี ต้องจับตาวิกฤติยูโรโซน และยังต้องติดตามราคาน้ำมันในตลาดโลก การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและระบบน้ำ" นางพิมลวรรณ กล่าว

สำหรับผลกระทบทางอ้อมอาจมีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระสินค้า ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกไทยต้องระมัดระวังในการส่งสินค้าไปขายในยุโรปมากขึ้น ซึ่งที่สุดแล้วก็จะมีผลสู่ยอดการส่งออกไปยังตลาดยุโรปด้วย อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยสนับสนุนจากตลาดอาเซียนที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าสัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังอาเซียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 30% ในปี 2558 จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 24% เนื่องจากการเติบโตของการค้าชายแดน รายได้ประชากรในประเทศเพื่อนบ้านขยายตัวสูงขึ้นส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้ง CLMV มีกำหนดที่จะลดภาษีศุลกากรลงเป็น 0% ในปี 2558 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเริ่มต้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC

ส่วนนางธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ศูนย์วิจัยได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของสินเชื่อในระบบธนาคารไทยในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 11.5-14.5% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 13% จากเดิมคาดการณ์ไว้เพียง 9-12% และมีค่ากลางอยู่ที่ 10.5% เนื่องจากเชื่อว่าความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกจะอยู่ในวงจำกัด ประกอบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ดี และแข็งแกร่งในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีความต้องการสินเชื่อในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั้งการลงทุนและการฟื้นฟูธุรกิจและการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตต่างๆ อย่างไรก็ดี ในส่วนของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ คาดว่าการแข่งขันด้านเงินฝากจะมีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากจะมีความต้องการเงินฝากแลสภาพคล่องจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจและการระดมทุน โดยเฉพาะจากภาครัฐเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งแม้ว่า ธปท. น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3% จนถึงสิ้นปีนี้แต่การแข่งขันของสถาบันการเงินน่าจะออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินเป็นหลัก

นางธัญญลักษณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของยุโรปต่อภาคการเงินไทยนั้น ในส่วนของด้านเงินลงทุนในหลักทรัพย์ไทยในต่างประเทศ และความเชื่อมโยงผ่านระบบสถาบันการเงินเชื่อว่ายังอยู่ในวิสัยที่ดูแลได้ และไทยยังคงมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ขณะที่ฐานะต่างประเทศด้านการเงินของไทยในส่วนของหนี้ต่างประเทศ พบว่ามีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อจีดีพีอยู่ในระดับต่ำที่ 34.21% แม้ปรับเพิ่มขึ้นเข้าใกล้ระดับวิกฤติปี 40 แต่เชื่อว่ายังสามารถบริหารจัดการได้ ส่วนระดับทุนสำรองสุทธิที่หักภาระผูกพัน (การนำเข้า 3 เดือนและหนี้ระยะสั้น) เพิ่มขึ้น และอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน.


ข่าว

วิกฤติหนี้ยุโรปลามถึง กสิกรไทยแนะรับมือตลาดเงิน-ทุนผันผวน

ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
วิกฤติหนี้ยุโรปลามถึง กสิกรไทยแนะรับมือตลาดเงิน-ทุนผันผวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
KKU วิกฤติหนี้ยุโรปลามถึง กสิกรไทยแนะรับมือตลาดเงิน-ทุนผันผวน ~ Update News