วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ฮือฮา! 2 หุ่นยนต์ตักบาตรคู่แรกของโลก ไอเดียกระฉูดจากเด็กลาดกระบังฯ

  

ฮือฮา! 2 หุ่นยนต์ตักบาตรคู่แรกของโลก ไอเดียกระฉูดจากเด็กลาดกระบังฯ

ฮือฮา! 2 หุ่นยนต์ตักบาตรคู่แรกของโลก ไอเดียกระฉูดจากเด็กลาดกระบังฯ

พระจอมเกล้าลาดกระบัง ล้ำ อวดโฉมนวัตกรรม “ชงโค” และ “แคแสด” 2 หุ่นยนต์ตักบาตรคู่แรกของโลก...

เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โชว์นวัตกรรมการสร้าง 2 หุ่นยนต์ ชงโค และแคแสด หุ่นยนต์ตักบาตรคู่แรกของโลก เพื่อร่วมตักบาตรแด่พระสงฆ์ 2,555 รูป ในโอกาสพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ผลงานการประดิษฐ์หุ่นยนต์จากความร่วมมือของอาจารย์และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ คล้องกับแนวคิดของสถาบันสังคมนวัตกรรม หรือ Innovative Society โดยกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักศึกษา คณาจารย์ ประชาชนจำนวนมากเข้าร่วมงาน ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

นายกิตติ ตีรเศรษฐ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า การจัดงานเปิดตัวหุ่นยนต์และตักบาตรนวัตกรรม...ฉลองพุทธชยันตี กิจกรรมการตักบาตรลักษณะนี้ได้จัดมาเป็นปีที่ 4 แล้ว ซึ่งเป็นสัญญาณอันดีและมงคลของการเริ่มต้นชีวิตการศึกษาที่ดีงามของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในสถาบัน แต่ในปีนี้ทางสถาบันสร้างความแปลกใหม่ ภายใต้แนวคิด การเปิดตัวหุ่นยนต์และตักบาตรนวัตกรรม...ฉลองพุทธชยันตี จากผลงานการประดิษฐ์หุ่นยนต์จากอาจารย์ นักวิจัย พร้อมด้วยนักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิดสังคมนวัตกรรม (Innovative Society) โดยการตักบาตรครั้งนี้ มีนักศึกษา กว่า 1 หมื่นคนร่วมงาน อีกทั้งอาหารตักบาตรในครั้งนี้จะนำไปถวายคณะสงฆ์ 286 วัด ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา อีกด้วย

นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล.กล่าวว่า 2 หุ่นยนต์ตักบาตรคู่แรกของโลก คือ ชงโค เป็นหุ่นยนต์อุบาสก และแคแสดเป็นหุ่นยนต์นางไม้ จากผลงานการสร้างสรรค์จากอาจารย์ นักวิจัย พร้อมด้วยนักศึกษา จากความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและการออกแบบจากวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่นำทีมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติเขต สู้รักษา โดยหุ่นยนต์ทั้ง 2 ตัว ถูกควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ชื่อระบบควบคุมแบบชาญฉลาด (Intelligent Control)

สำหรับหุ่นยนต์ตัวแรก ชื่อชงโค มาจากดอกชงโค ซึ่งเป็นดอกไม้ไทยสัญลักษณ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยหุ่นยนต์ออกแบบลักษณะภายนอกเป็นรูปบาตรพระสีดำ 2.8 x 2.8 x 2.5 เมตร  และเมื่อหุ่นยนต์ทำงาน รูปบาตรก็จะบานออกเป็นกลีบบัว มีทั้งหมด 8 กลีบ ขนาด 6 x 6 x 2.5 เมตร โดยเมื่อกลีบบานออกจะปรากฏเป็นหุ่นยนต์รูปร่างคล้ายมนุษย์กำลังนั่งคุกเข่าอยู่ โดยหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถหยิบชุดสังฆทานนำมาถวายพระที่อยู่ข้างหน้าได้โดยอัตโนมัติ  อีกทั้งมีระบบเก็บภาพและถ่ายทอดความประทับใจให้คนทั่วโลกได้รับรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อที่จะถ่ายโอนข้อมูลภาพนั้นไปยังอีเมล์ หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ทันที

ส่วนหุ่นยนต์ตัวที่ 2 ชื่อแคแสด ได้รับการออกแบบเป็นหุ่นยนต์นางไม้ ขนาด 5x5 เมตร ที่มีความสามารถในการลำเลียงของถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยหุ่นยนต์ทั้งสองตัวนี้ถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ

อย่างไรก็ตาม การสร้างสรรค์นวัตกรรมในครั้งนี้ไม่ใช่เพียงการสร้างหุ่นยนต์ แต่เป็นกระบวนการฝึกฝนให้นักศึกษาวิศวกรรมคนรุ่นใหม่มีจินตนาการ นำองค์ความรู้ภาคทฤษฎีในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้สู่ความเป็นจริง ด้วยหลักวิชาทางวิศวกรรม รวมทั้งนำมาหลอมรวมกับวัฒนธรรมประเพณี และ “การให้” ของบรรพบุรุษไทย โดยหุ่นยนต์คู่นี้ใช้เวลาการประดิษฐ์กว่า 2 ปี เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในระดับสากลของนักศึกษา สจล.ที่อาสาเข้ามาร่วมโครงการสร้างสรรค์หุ่นยนต์ตักบาตร ตลอดจนยังสะท้อนคำว่า ใฝ่รู้ สู้งาน ซึ่งเป็นสโลแกนที่สะท้อนความเป็นเด็กลาดกระบังดีที่สุด.

 


ข่าว

ฮือฮา! 2 หุ่นยนต์ตักบาตรคู่แรกของโลก ไอเดียกระฉูดจากเด็กลาดกระบังฯ

ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
ฮือฮา! 2 หุ่นยนต์ตักบาตรคู่แรกของโลก ไอเดียกระฉูดจากเด็กลาดกระบังฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
KKU ฮือฮา! 2 หุ่นยนต์ตักบาตรคู่แรกของโลก ไอเดียกระฉูดจากเด็กลาดกระบังฯ ~ Update News